วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติบริษัท ไมโครซอฟท์


Microsoft Corporation

           
บริษัท Microsoft ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1975 โดยบิลล์ เกตส์ กับ พอล อัลเลน ได้ร่วมกับก่อตั้ง ไมโครซอฟท์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองRedmond,Washington,USA ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น และได้นำเอาภาษาเบสิกที่พัฒนาขึ้นเองออกวางตลาดและให้ชื่อว่าไมโครซอฟท์เบสิก ภาษาคอมพิวเตอร์นี้ได้กลายมาเป็นรากฐานให้แก่ธุรกิจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งถูกผนวก (ROM) เข้ากับเครื่อคอมพิวเตอร์ในบ้าน และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 และ 
80

           ต่อมาในปี ค.ศ. 1985 ถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของบริษัท Microsoft เพราะทางบริษัท IBM ได้วางแผนจะรุกตลาดคอมพิวเตอร์ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC) IBM ออกวางตลาด IBM ได้เข้ามาเจรจากับ Microsoft เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัตการคอมพิวเตอร์ซึ่งในตอนแรกทางบริษัท Microsoft ยังไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้จึงแนะนำให้ IBM ไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของ IBM ได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป IBM จึงหันมาคุยกับMicrosoft อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และขายมันให้กับ IBM ในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ


           ต่อมาในช่วงปี1989ทางบริษัท Microsoft ได้พัฒนา software ต่างๆของมาเช่น office suite,Microsoft office เป็นโปรแกรมที่ใช้ตามสำนักงานต่างๆเช่น Microsoft Word,Microsoft Excel

           และในวันที่ 22 พฤษภาคม 1990 ทางบริษัทได้ทำการเปิดตัว Window 3.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัตการ version แรกที่ได้นำgraphicsมาช่วยในการใช้งานเพื่อความคล่องตัวและปรับปรุงความสามารถเพื่อให้ใช้ Intel 386 processor ได้


          ในปีค.ศ. 1995 ได้ทำการปล่อย Windows 95 ออกสู่ตลาด

          ในปีค.ศ. 1998  ทางบริษัทได้พัฒนา Window 98 ออกมาใหม่

          ในปีค.ศ. 2001 ได้ผลิด Window XP

          และสุดท้ายในปี ค.ศ. 2006 ได้พัฒนาและผลิด Window vista ออกมา


           นอกจากระบบปฏิบัติการ Windows แล้วทางบริษัท Microsoft ยังมีผลิตณฑ์ Computer Hardware ที่ออกสู่ตลาดอีกมากมายเช่น Microsoft  Mouse,home entertainment,Xbox,Xbox360,Zune and MSN Tv

ไมโครซอฟท์ประกาศแคมเปญ ‘Crisis Turning Point - จุดเปลี่ยนในวิกฤติ
พร้อมช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
ไมโครซอฟท์ช่วยผู้ใช้งานรับมือวิกฤติเศรษฐกิจโดยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
กับคู่ค้าและลูกค้า แนะแนวทางการใช้ไอทีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

 
กรุงเทพฯ – 27 พฤศจิกายน 2551 ในภาวะที่วิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกภาคส่วน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ออกแคมเปญ ‘Crisis Turning Point – จุดเปลี่ยนในวิกฤติ’ เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจในประเทศไทยรับมือวิกฤติเศรษฐกิจอย่างมั่นใจ ด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับคู่ค้าและลูกค้า ไมโครซอฟท์พร้อมช่วยองค์กรธุรกิจโดยการนำเสนอแนวทาง ‘3P’ เพื่อช่วยลดต้นทุน โดยการมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มศักยภาพของบุคลากร (People) กระบวนการทำงาน (Processes) และ นโยบายขององค์กร (Policies)
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสำคัญของแคมเปญนี้ว่า “ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เราจึงต้องลงมือทันทีเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศกลยุทธ์เชิงรุก 5แนวทาง ในรูปแบบของกิจกรรมต่อเนื่อง กิจกรรม สำหรับนักพัฒนาไอที คู่ค้า และลูกค้าของไมโครซอฟท์ โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อช่วยองค์กรธุรกิจลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตาม สำหรับแคมเปญ ‘Crisis Turning Point - จุดเปลี่ยนในวิกฤติ’ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะช่วยผู้ใช้งานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรด้วยการใช้ไอทีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แม้ในบางครั้งเราอาจมองว่าไอทีเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับองค์กรและสมควรจะถูกตัดออกท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะจะช่วยให้เข้าใจได้อย่างดีว่าเทคโนโลยีสามารถจะมาช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ในส่วนใด ที่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้น ” นางสาวปฐมา กล่าวเพิ่มเติม “เราต้องการตอกย้ำให้เห็นถึงพันธกิจของไมโครซอฟท์ที่มีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ เพื่อที่พวกเขาจะได้พร้อมรับมือต่อวิกฤติเศรษฐกิจอย่างมั่นใจแม้ในภาวะการณ์ที่ไม่แน่นอน ในฐานะที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เราจึงริเริ่มแคมเปญนี้ขึ้นมา แต่มันสำคัญยิ่งกว่าที่จะต้องตระหนักว่า แคมเปญดังกล่าวต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่าหลายๆ คนอาจคิดว่าแนวทางที่ดีที่สุดในการที่จะรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ คือ การลดค่าใช้จ่ายลง แม้ความคิดนั้นจะมีนัยที่เป็นความจริง แต่การลดค่าใช้จ่ายในขณะที่องค์กรเติบโตขึ้นนั้น บุคลากรขององค์กรจำเป็นที่จะต้องทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยตอบโจทย์ได้ โดยขณะนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเองก็ได้เร่งสร้างโมเดลการทำงานร่วมกันระหว่างผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กับภาคอุตสาหกรรมเพื่อคิดค้นซอฟต์แวร์ที่ช่วยประสิทธิภาพในการทำงานตรงกับความต้องการของตลาดไทยขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยพ้นวิกฤตได้
แคมเปญ ‘Crisis Turning Point หรือ จุดเปลี่ยนในวิกฤติ’ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก อย่าง ซึ่งได้แก่ (1) การใช้ไอทีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) การนำไอทีมาใช้ในการช่วยลดค่าใช้จ่าย (3) ลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงานในองค์กร
นางสาวปฐมา กล่าวว่า สำหรับในแต่ละองค์ประกอบ เรายังคงยึดตามหลัก ‘3Ps’ คือ บุคลากร(People) กระบวนการทำงาน(Processes)และ นโยบายขององค์กร (Policies) ดังนั้นในการช่วยองค์กรธุรกิจให้ใช้ไอทีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราจะต้องส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม การให้การสนับสนุน และการเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงาน เพื่อที่พวกเขาจะดำเนินงานในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้อย่างราบรื่น ทั้งยังมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราสามารถช่วยพวกเขาโดยการศึกษาให้แน่ใจว่า กระบวนการทำงานภายในองค์กรจะสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับการนำอุปกรณ์ทางด้านไอทีที่มีอยู่ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และท้ายที่สุด องค์กรจะต้องมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมสำหรับการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้กับองค์กร
ไมโครซอฟท์ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์โซลูชั่นรายใหญ่ของโลก ตระหนักดีว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทย ตลอดจนกลุ่มองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ต้องใช้ไอทีเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ ต่างก็กำลังมองหาทิศทาง และแนวทางอันเหมาะสม ที่จะนำธุรกิจและองค์กรของตนดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น จึงได้รวบรวมและนำเสนอ แนวทางหลักๆ แนวทางด้วยกัน เพื่อรับมือและให้องค์กรสามารถฝ่าฟันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงสุด
สิ่งแรกที่ทุกองค์กรควรให้ความสนใจ คือ ลองหันกลับไปมององค์กรของเราเองว่า องค์กรของเราได้ใช้ และนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่า และ เกิดประโยชน์สูงสุดหรือยัง (Utilize what you Have)
หลักข้อต่อไปคือ แนวคิดหรือแนวทางหลักอีกอย่างหนึ่งคือ การนำ IT หรือ Technology มาใช้ หรือ มาช่วยในการทำงานขององค์กร (Use IT to reduce cost) และข้อคิดสุดท้ายคือ นอกจากการนำหรือการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ การนำ ITหรือ Technology เข้ามาช่วยองค์กรในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้แล้ว แนวทางสุดท้ายที่จะนำเสนอ และช่วยให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นนั่นคือ รู้จักวิธีจัดการระบบการทำงานหรือลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงานในองค์กร(Consolidate)” นางสาวปฐมา กล่าวย้ำ
ผู้คนมักคิดว่าไมโครซอฟท์เป็นผู้ให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว แต่ในฐานะที่เราเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เราต้องการที่จะให้คู่ค้า และลูกค้าของเราตระหนักว่า เรามุ่งมั่นที่จะแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ รวมทั้งการจัดการทางธุรกิจให้แก่พวกเขาเช่นกัน โดยผ่านทางการให้การฝึกอบรม คำแนะนำ และการสนับสนุนที่ครอบคลุมทุกส่วน
เพื่อเป็นการสนับสนุนแคมเปญดังกล่าว ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ยังได้จัดทำวีดีโอ พรีเซนเทชั่น ซึ่งจะเผยแพร่ต่อไปยังคู่ค้าและลูกค้าของไมโครซอฟท์ ในการช่วยแนะแนวทางที่ธุรกิจสามารถนำไอทีไปใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายและปกป้องพวกเขาให้รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ยังได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับแคมเปญนี้โดยเฉพาะที่ http://www.microsoft.com/thailand/crisis ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชั่นต่างๆ กรณีศึกษา เว็บคาสต์ และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทั้ง ข้อที่ได้กล่าวมาแล้ว
นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI ให้ความเห็นว่า “การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ในภาวะที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ เราจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้เหมาะสมและเป็นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ การชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา ซึ่งนายบารัค โอบามา ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์นั้น เป็นตัวอย่างที่ดียิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากตระหนักดีว่าไอทีคือคำตอบสำหรับอนาคตในการสร้างความมั่นคงและผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าของประเทศ ดังนั้น เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของประเทศ และเราหวังว่า องค์กรต่างๆจะได้เรียนรู้การขยายธุรกิจผ่านทางการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้การลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาล
ไมโครซอฟท์เชื่อมั่นว่า ด้วยแนวทางการทำงานที่เข้าใจและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ไม่เพียงแต่องค์กรจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เท่านั้น แต่ยังจะสามารถผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายระยะยาวขององค์กรได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราทราบดีว่าเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อที่จะช่วยเหลือและแนะนำแนวทางที่เหมาะสมให้แก่พวกเขา ด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เรามั่นใจว่า องค์ความรู้นี้จะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของประเทศไทย ในการบูรณาการบุคลากร นโยบาย และกระบวนการทำงานขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน อันจะก่อให้เกิดความสำเร็จและช่วยผลักดันประเทศไทยให้ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ในที่สุด” นางสาวปฐมา กล่าวสรุป

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 บริษัทฯ เสนอซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนไทย ตลอดจนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)http://www.microsoft.com/thailand.
ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ หมายเหตุ: หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ สามารถดูได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น