วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

Sun Microsystems

ซันไมโครซิสเต็มส์ 
(อังกฤษ: Sun Microsystems)

ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของซัน ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC), ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris), ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS, และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวา และแพลตฟอร์มจาวา
นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพนซอร์ส




บริษัท hp

บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (อังกฤษ: Hewlett-Packard Company) หรือตัวย่อ เอชพี (HP) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ การจัดการภาพดิจิทัล

ประวัติ

นายวิลเลียม ฮิวเลตต์และเดวิด แพคการ์ด ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เริ่มกิจการบริษัทเอชพีในโรงรถในเมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีเงินลงทุนครั้งแรก 500 ดอลลาร์ และทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือวัด
Hewlett-Packard 9100A
เอชพีเป็นผู้คิดค้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็น รายแรกของโลกในปี(ค.ศ1830) ในชื่อ Hewlett-Packard 9100A แต่เรียกผลิตภัณฑ์ของตนว่าเครื่องคิดเลขตั้งโต๊ะ (desktop calculator) ด้วยเหตุผลทางการตลาด เพราะคอมพิวเตอร์ของเอชพีนั้นไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มที่แพร่หลายในขณะนั้น หลังจากนั้นเอชพีได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญหลายอย่าง ที่สำคัญคือเครื่องคิดเลขพกพาที่โปรแกรมได้
เอชพีถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการก่อตั้งซิลิคอนแวลลีย์
สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญของเอชพีในยุคหลังคือ พรินเตอร์อิงค์เจ็ต เลเซอร์พรินเตอร์ รวมถึงสแกนเนอร์ เมื่อ ค.ศ. 1984 ส่วนยุค 90 นั้นเอชพีขยายตลาดมาด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เหตุการณ์ที่สำคัญคือการเข้าซื้อกิจการของคอมแพค ในปี ค.ศ. 2002


Adobe System

 Adobe System

อะโดบีซิสเต็มส์ (Adobe Systems) เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแซนโฮเซในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1982 โดย จอห์น วอร์น็อก และ Charles Geschke หลังจากลาออกจากห้องวิจัย Xerox PARC เพื่อพัฒนาภาษาในการแสดงผลที่ชื่อ โพสต์สคริปต์ อะโดบีเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแอปเปิล คอมพิวเตอร์ซื้อสิทธิ์ในการใช้งาน PostScript ไปใช้กับเครื่องพิมพ์ LaserWriter ของตนเอง หลังจากนั้น Adobe มีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกหลายชนิด และเข้าซื้อกิจการบริษัท แมโครมีเดีย เมื่อปี 2005 นอกจากนี้อะโดบี ติดอันดับบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานด้วยหลายปีติดต่อกัน จัดอันดับโดยนิตยสารฟอรบส์

ชื่อ Adobe มีที่มาจากลำธารอะโดบีซึ่งไหลผ่านบ้านของผู้ก่อตั้ง และคำว่า adobe เองในภาษาอังกฤษมีคำหมายถึงดินเหนียวที่ใช้ในงานศิลปะ

==============================================================

โปรแกรมของ Adobe Systems ที่ผลิตมา


ตอนนี้เวอร์ชั่นสูงสุดคือ CS3 นะครับ ส่วน CS4 ต้องไปดาวน์โหลดที่ http://www.adobe.com/ ครับ

ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของอะโดบีในยุคปัจจุบัน ก็คือโปรแกรมชุด Adobe Creative Suite 3 (CS3) ซึ่งมีการแยกขายทั้งหมด 4 รุ่นด้วยกัน คือ

* Adobe Creative Suite 3 Design Standard and Premium
* Adobe Creative Suite 3 Web Standard and Premium
* Adobe Creative Suite 3 Production Premium
* Adobe Creative Suite 3 Master Suite

รุ่นที่มีโปรแกรมครบถ้วนที่มากสุด คือ รุ่น Adobe Creative Suite 3 Master Suite ซึ่งประกอบไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ดังนี้

* อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop CS3)
* อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ (Adobe Illustrator CS3)
* อะโดบี อินดีไซน์ (Adobe InDesign CS3)
* อะโดบี แอโครแบต (Adobe Acrobat 8 Professional)
* อะโดบี แฟลช (Adobe Flash CS3)
* อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver CS3)
* อะโดบี คอนทริบิวต์ (Adobe Contribute CS3)
* อะโดบี ไฟร์เวิรกส์ (Adobe Fireworks CS3)
* อะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ (Adobe After Effect CS3 Professional)
* อะโดบี พรีเมียร์ (Adobe Premiere Pro CS3)
* อะโดบี ซาวนด์บูธ (Adobe Soundbooth CS3)
* อะโดบี เอ็นคอร์ (Adobe Encore CS3)
* อะโดบี ออนโลเคชัน (Adobe OnLocation)
* อะโดบี อัลตร้า (Adobe Ultra CS3)

และโปรแกรมเสริมเพิ่มเติมที่มาพร้อมกับ Adobe Creative Suite 3 ได้แก่

* อะโดบี บริดจ์ (Adobe Bridge CS3)
* อะโดบี เวอร์ชันคิว (Adobe Version Cue CS3)
* อะโดบี ดีไวซ์เซนทรัล (Adobe Device Central CS3)
* อะโดบี ไดนามิกลิงก์ (Adobe Dynamic Link)
* อะโดบี สตอร์โฟโต้ (Adobe Store Photo)
* อะโดบี แอโครแบตคอนเน็กต์ (Adobe Acrobat Connect)

นอกจากนี้ก็ยังมีผลิตภัณฑ์บางตัว ซึ่งสร้างชื่อให้กับอะโดบี แต่ได้อยู่ในชุดโปรแกรม Adobe Creative Suite เช่น

* อะโดบี เพจเมกเกอร์ (Adobe PageMaker) - ถูกพัฒนาต่อโดยใช้ชื่อใหม่ คือ Adobe InDesign CS3
* อะโดบี ออดิชัน Audition
* อะโดบี โกไลฟ์ GoLive
* อะโดบี อินก๊อปปี้InCopy


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)


ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล

1.     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2.    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
  1. หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
  2. หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
  3. หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3.    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. หน่วยความจำภายใน
หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่            2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
  1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
  2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
  3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
                                                        
ขนาด 5.25 นิ้ว                                 ขนาด 1.44 MB

หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์

  8 Bit 
1 Byte
1 Byte1 ตัวอักษร
1 KB  1,024 Byte
1 MB 1,024 KB
1 GB 1,024 MB
1 TB  1,024 GB

หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ                1.  ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
             2. ขนาด 3.5 นิ้ว
            ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
 Hard disk

Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
                        คุณสมบัติดังนี้
    • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
    • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
    • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
    • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
   CD - ROM

3.    หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)

ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
  1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
  2. ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

        บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

การสื่อสารข้อมูล


การสื่อสารข้อมูล

                ในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูล มีบทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้งานโดยส่งผ่านสื่อกลางต่างๆ ซึ่งสื่อกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

๒.๑ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล

                การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้ส่งข้อมูล ทำการส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
                ๑) การสื่อสารทางกายภาพ (physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลโดยอาศัยสายสัญญาณเป็นสื่อกลางในระบบสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างสายสัญญาณมีดังนี้
                                ๑.๑) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบด้วยลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกจำนวน ๔ คู่ แต่ละคู่พันเป็นเกลียว ซึ่ง ๒ คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร ๑ ช่องทาง สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่เป็นมาตรฐานใช้ส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในระยะเวลานาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ (telephone line) เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์


  ๑.๒) สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายตีเกลียวคู่ประมาณ  ๘๐ เท่า ส่วนใหญ่จะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์


                                ๑.๓) สายใยแก้วนำแสง (fiberotic cable) ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็กซึ่งหุ้มด้วยฉนวนหลายชั้นโดยกรส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง ๒๖,๐๐๐ เท่าของสายตีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเบาและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเชียล อีกทั้งการส่งข้อมูลยังใช้ลำแสงที่มีความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้จำนวนมากเป็นระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง


                ๒) สื่อกลางไร้สาย (wireless media) เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย มีดังนี้


                                ๒.๑) อินฟราเรด (infrared)  เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแลงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลระยะไม่ไกล การส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สามารถมองทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น
                                ๒.๒) คลื่นวิทยุ(radio wave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง อุปกรณ์พิเศษนี้เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเข้าถึงเว็บไซต์ได้ เป็นต้น ผู้ใช้บางรายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการเชื่อมต่อเพื่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต
                                ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ (bluetooth) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น  เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะไม่เกิน ๓๓ ฟุต การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยีบลูทูธได้รับความนิยมสูง จึงมีการนำมาบรรจุไว้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องพีดีเอ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น
                                ๒.๓) ไมโครเวฟ(microwave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูง สามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จาดสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้ สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ นิยมใช้ในการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สำหรับการสื่อสารระยะไกลๆ ต้องใช้สถานีรับและขยายสัญญาณ ซึ่งมีลักษณะเป็นจานหรือเสาอากาศ เพื่อรับส่งสัญญาณเป็นทอดๆ โดยติดตั้งบนพื้นที่สูงๆ เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น โดยปกติความถี่ไมโครเวฟอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมและการทำอาหาร
                                ๒.๔) ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น  จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่เหนือผิวโลกทำหน้าที่เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ถ้าเป็นลักษณะการส่งจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิงค์ (uplink) ส่วนการรับข้อมูลจาดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า การเชื่อโยงลงหรือดาวน์ลิงค์ (downlink) ทั้งนี้มีระบบเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งบนผิวโลก เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ ผู้ใช้สามารถขับรถไปตามระบบนำทางได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วย  


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555


มุมเทคโนโลยี

ระบบเครือข่ายไร้สาย

                ระบบเครือข่ายไร้สาย (wireless local area network : WLAN) เป็นระบบการสื่อสารที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มเติมกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งความถี่คลื่นวิทยุ และคลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศทะลุกำแพง เพดาน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบLAN ที่สำคัญคือ ไม่ต้องใช้สาย ทำให้การเคลื่อนย้ายใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย มีดังนี้
๑.มีความคล่องตัวสูง ไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหนหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ยังมีการเชื่อต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
๒.สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
๓.สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี บัตรพีซี (PC card) มาต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
๔.ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เพราะติดตั้งง่าย
๕.สามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่าย เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานได้ โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก ระหว่างอาคาร ระหว่างที่พัก เป็นต้น ไม่ต้องเสียเวลาในเรื่องการเดินสายเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณ



๒.๒ วิธีการถ่ายโอนข้อมูล


วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นวิธีการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลและการรับสัญญาณด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล  วิธีการถ่ายโอนข้อมูล มี ๒ วิธี ดังนี้
                ๑) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน  เป็นการส่งข้อมูลออกทีละ ๑ ไบต์ หรือ ๘ บิต จากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทาวให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย ๘ ช่องทางขนานกัน เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าผ่านไปได้ และระยะทางของของสายสัญญาณแบบขนานไม่ควรยาวเกิน ๑๐๐ ฟุต เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไป เนื่องจากความต้านทานของสาย นอกจากนี้อาจมีปัญหาที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในสายดินส่งคลื่นไปก่อกวนการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ผู้รับได้รับสัญญาณที่ผิดพลาดได้


                ๒) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลออกทีละ ๑ บิต ระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางเพียง ๑ ช่องทาง หรือสายตีเกลียวคู่เพียงคู่เดียว ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบขนาน สำหรับการส่งระยะทางไกลๆ ความเร็วในการส่งแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน
                หารถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม จะเริ่มด้วยข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลและที่อุปกรณ์รับข้อมูลจะมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนาน เช่น บิตที่ ๑ ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ ๑ เป็นต้น ความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม มีหน่วยวัดเป้นบิตต่อวินาที (bps



การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม อาจจะแบ่งตามทิศทางในการรับและส่งช้อมูลได้ ๓ แบบ ดังนี้

๒.๑) แบบสื่อสารทางเดียว (simplex) การติดต่อสื่อสารทางเดียวมีลักษณะการส่งข้อมูลไปยังผู้รับในทิศทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ บอร์ด ประกาศ ภาพ เป็นต้น


๒.๒) แบบสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) การติดต่อสื่อสารแบบกึ่งคู่ มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางแบบสลับ แต่ละสถานีสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งรับและส่งข้อมูล แต่จะผลัดกันส่งและผลักกันรับ จะส่งและรับข้อมูลในเววลาเดียวกันไม่ไ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ วิทยุสื่อสารของระบบขนส่ง การรับส่งโทรสาร (Fax) เป็นต้น


๒.๓) สื่อสารทางเต็มอัตรา (full duplexการติดต่อสื่อสารแบบทางคู่มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน กล่าวคือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลารอ เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์ การสนทนาอินเทอร์เน็ต เป็นต้น



๒.๓ รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

            ๑) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากสถานีเชื่อมโยง (node) หนึ่งไปยังอีกสถานีเชื่อมโยงหนึ่ง โดยเครื่องหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันทางด้านข้างทั้ง ๑ ด้าน จนเกิดเป็นวงกลมหรือลูป (loop) การส่งสัญญาณจะมีการรับและส่งข้อมูลต่อกันไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง จากนั้น สถานีปลายทางจะส่งสัญญาณตอบรับว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว


ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน
-                   ใช้สายสัญญาณและเนื้อท่สำหรับติดตั้งน้อย
-                   ติดตั้งได้ง่าย สามารถเพิ่มหรือตัดสถานีเชื่อมโยงออกได้ง่าย
-                   เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ในเครือข่ายมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน
-                   หากวงแหวนเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อทั้งเครือข่าย
-                   ตรวจสอบได้ยากว่าสถานีใดขัดข้อง ทำให้ต้องตรวจสอบทุกสถานีหรือทุกส่วนของเครือข่าย

 ๒. การเชื่อมต่อแบบบัส (bus topology) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย จะเชื่อมต่อเข้ากับสายหลักเพียงเส้นเดียว เรียกว่าสาย แบ็กโบน (backbone)
การเชื่อมต่อแบบบัส นิยมต่อด้วยสายโคแอกเชียล




ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบบัส

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส
-                   โครงสร้างไม่ซับซ้อนติดตั้งง่าย
-                   สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย
-                   ใช้สัญญาณน้อย เพราะมีสายหลักเพียงสายเดียว
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส
-                   หากสายสัญญาณขาดจะส่งข้อมูลไม่ได้เลย
-                   ตรวจสอบจุดที่เสียหายได้ยาก
-                   มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างแต่ละสถานี

๓. การเชื่อมต่อแบบดาว (star topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับจุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ (hub)หรือ สวิตช์ (switch)
 * การเชื่อมต่อแบบดาว ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อชุดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน


ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบดาว

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบดาว
-                   ติดตั้งและดูแลง่าย
-                   มีความคงทนสูง แม้ว่าสายสัญญาณขาดที่ใดที่หนึ่ง สายสัญญาณที่เหลือสามารถทำงานได้ปกติ
-                   หากระบบทำงานบกพร่อง สามารถตรวจสอบหาจุดขัดข้องได้ง่าย
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบดาว
-                   ใช้สายสัญญาณมาก
-                   ขยายระบบเครือข่ายได้ยาก
-                   หากฮับเสียหาย จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้

๔. การเชื่อมต่อแบบผสม (hybrid topology) เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือ การเชื่อมต่อแบบดาว โดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง
การเชื่อมต่อแบบผสม เป็นการรวมรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่



ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบผสม

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบผสม
-                   สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ในระยะไกลได้
-                   ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบผสม
-                   ดูแลระบบยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
-                   โครงสร้างมีความซับซ้อนมีรูปแบบไม่แน่นอน